วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงงงานบูรณาการเรื่อง"เมี่ยงคำเมืองตาก"


บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
            เมี่ยงคำเมืองตากเป็นอาหารชื่อดังของจังหวัดตากมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของจังหวัดตาก  เป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยว เมืองตาก  แต่ปัจจุบันมีการทำเมี่ยงคำน้อยลง  ซึ่งส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจตกต่ำลง  เราจึงคิดทำโครงงานนี้ต่อยอดจากปีที่แล้วที่ทำโครงงาน “ข้าวแคบทิพย์จ้าดลำ
ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของเมี่ยงคำ เราสามารถนำความรู้เดิมมาใช้กับโครงงานครั้งนี้ขึ้นมา
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
            1.เพื่อให้รู้วิธีการทำเมี่ยงคำเมืองตาก
            2.เพื่อให้รู้เรื่องที่มาและความสำคัญของเมี่ยงคำเมืองตาก
            3.นำความรู้ที่ได้มาจัดทำโครงงาน

ขอบเขตด้านเนื้อหา
            สามารถหาความรู้ได้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ และตามชุมชนที่ยังทำเมี่ยงคำขายอยู่
ขอบเขตด้านประชากร
            ค้นคว้าข้อมูลโดยศึกษาหาความรู้จากคนที่อยู่ในอำเภอเมืองตาก
ประโยชน์ที่ได้รับ
            1.ได้รู้วิธีการทำเมี่ยงคำเมืองตาก
            2.อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองตาก
            3.สามารถทำแผ่นพับและคำประพันธ์



บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ
            โครงงานเรื่อง เมี่ยงคำเมืองตาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนรู้จักและเข้าใจเรื่องการทำเมี่ยงคำเมืองตาก
ซึ่งมีวิธีการดำเนินการดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินการ
            1.คิดชื่อโครงงานและประชุมแบ่งงาน
            2.รวบรวมข้อมูล
            3.ทำรูปเล่มและแผ่นโครงงาน
            4.ตรวจความถูกต้องและส่งงาน
แผนปฏิบัติงาน

ลำดับที่
กิจกรรมที่ปฏิบัติ
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
1
คิดชื่อโครงงาน
1 วัน

2
ประชุมแบ่งงาน
3 วัน

3
รวบรวมข้อมูล
1 สัปดาห์

4
ทำรูปเล่ม
2 สัปดาห์

5
ทำแผ่นโครงงาน
1 สัปดาห์

6
ตรวจความถูกต้องและส่งงาน
20 นาที

ระยะเวลาดำเนินการ               เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ. 2555
งบประมาณ                             500 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ                ทราบประวัติและความสำคัญของเมี่ยงคำเมืองตาก


บทที่ 5
อภิปรายผล  สรุปและข้อเสนอแนะ
            โครงงานเรื่อง เมี่ยงคำเมืองตาก  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนรู้จักและเข้าใจในเรื่องการทำเมี่ยงคำเมืองตาก  ซึ่งสามารถสรุปผล  อภิปรายผลและข้อเสนอแนะการดำเนินโครงงาน  ดังนี้
อภิปรายผล


คำกลอนเชิญชวนบริโภค
“เมี่ยงคำเมืองตาก”
เมี่ยงคำจังหวัดตาก
มีหลายหลากวัตถุดิบ
ประโยชน์ได้เป็นสิบ
ห่อและหยิบทำจนชิน
ข้าวแคบใบชะพลู
คนช่างรู้เอามากิน
ข้าวตังคนกวิล
หอมได้กลิ่นของกระเทียม
เชิญมาจังหวัดตาก
ซื้อของฝากรสชาติเยี่ยม
มีคุณภาพเยี่ยม
เงินที่เตรียมซื้อได้เลย





วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง


การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง พระองค์มีพระราชดำรัส ดังนี้
“การ ปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาได้ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้
ไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วยโดยรับน้ำฝนอย่างเดียว
ประโยชน์อย่างที่ 4 คือสามารถช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ”
แปลความสรุปอย่างเข้าใจง่าย ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และระบบนิเวศน์
พออยู่ หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย
พอกิน หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุนไพร
พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ไม้ฟืน, และไม้ไผ่ เป็นต้น
ประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ สร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า
โครงการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์
1. ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ตามแนวคิด ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
2. จัดรูปแบบการปลูกให้เกิดคุณค่าและบูรณาการในพื้นที่ทำกินเดิมให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่า
3. สร้างมูลค่าต้นไม้ที่ปลูกทำให้เป็นทรัพย์ เพื่อออมทรัพย์และใช้แก้ปัญหาความยากจน
วิธีการดำเนินการ
1. การจัดแบ่งที่ดินทำกินเพื่อใช้ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง จากพื้นที่ทำกินอยู่เดิม ที่เป็นพื้นที่สวน ไร่หรือนา     แบ่งพื้นที่ออกมา ร้อยละ 30-50 โดยมีรูปแบบการจัดแบ่ง 3 รูปแบบ ดังนี้
      1. พื้นที่จัดแบ่งปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
1.1 จัดแบ่งโดยใช้พื้นที่รอบแนวเขตพื้นที่ทำกิน ปลูกในพื้นที่ร้อยละ 30-50 ตามแนวเขตแดนพื้นที่ ทำกิน 
      2. พื้นที่จัดแบ่งปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
1.2 จัดแบ่งออกมาชัดเจนเป็นส่วน ปลูกในพื้นที่ร้อยละ 30-50 โดยจัดส่วนอยู่ด้านหนึ่งของพื้นที่
1.3 จัดแบ่งเป็นริ้วหรือแถบตามความเหมาะสม
      3. พื้นที่จัดแบ่งปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
2. การจัดองค์ประกอบ พันธุ์ไม้ตามวัตถุประสงค์ โดยการปลูกพันธุ์ไม้ในพื้นที่ตามความเหมาะสม แต่ให้ได้องค์ประกอบซึ่งให้เกิดความพออยู่ พอกิน พอใช้ ดังนี้
2.1 ปลูก เพื่อให้เกิดความเพียงพอในด้านพออยู่ เช่น การปลูกต้นไม้สำหรับใช้เนื้อไม้มาปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เช่น ไม้ตะเคียนทอง, สัก, ยางนา, มะฮอกกานี, กระทินเทพา, จำปาทอง ฯลฯ
2.2 ปลูกเพื่อให้เกิดความเพียงพอในด้านการพอกิน เช่นการปลูกต้นไม้สำหรับใช้กิน เป็นอาหาร เป็นยาสมุนไพร เป็นเครื่องดื่ม ตลอดจนพืชที่ปลูกเพื่อการค้าขายผลผลิตเพื่อดำรงชีพ เช่น ไม้ผลต่าง ๆ ได้แก่ เงาะ, ทุเรียน, มังคุด, ลองกอง, มะม่วง ฯลฯ ไม้ที่ให้ผลผลิตเพื่อขาย เช่น ปาล์ม, มะพร้าว, ยางพารา ฯลฯ
2.3 ปลูกเพื่อให้เกิดความเพียงพอในด้านการพอใช้ เช่น ปลูกต้นไม้สำหรับใช้สอย ในครัวเรือน ใช้พลังงาน ใช้เป็นเครื่องมือต่าง ๆ ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ ไม้ไผ่,หวาย สำหรับจักสานเป็นเครื่องเรือน ของใช้ ฯลฯ ไม้โตเร็วบางชนิดที่ใช้เป็นไม้ฟืน,ถ่าน ไม้พลังงาน เช่น สบู่ดำ, ปาล์ม ฯลฯ ไม้ทำเครื่องมือการเกษตร ได้แก่ การทำด้ามจอบ, มีด, ขวาน, ทำรถเข็น, โต๊ะ, เก้าอี้, ตู้ ฯลฯ
องค์ประกอบตามวัตถุประสงค์ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
จัดโครงสร้างและลำดับชั้นต้นไม้ในป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เป็นการจัดโครงสร้าง พันธุ์ไม้ให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อความสมดุลของระบบนิเวศ โดยให้มีชั้นเรือนยอด 3 ชั้น ได้แก่ เรือนยอดชั้นบน เรือนยอดชั้นกลาง เรือนยอดชั้นล่าง และหากจัดโครงสร้างด้านการใช้ประโยชน์จะเป็น 4 ระดับ คือ ชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นล่างและชั้นใต้ดิน ตามรูปแบบเกษตร 4 ชั้น, สวนโบราณ, สวนสมรม
3.1 ไม้เรือนยอดชั้นบนได้แก่ ไม้ที่ปลูกใช้เนื้อไม้ทำที่อยู่อาศัย เช่น ตะเคียนทอง, สัก ยางนา, สะเดา, จำปาทอง ฯลฯ และไม้ที่ลำต้นสูงและที่ลูกเป็นอาหารได้ เช่น สะตอ, เหรียง, กระท้อน, มะพร้าว หมาก ฯลฯ
3.2 ไม้ เรือนยอดชั้นกลางส่วนใหญ่เป็นไม้เพื่อการกิน, การขาย, การใช้เป็นอาหารและสมุนไพร เช่น มะม่วง, ขนุน, ชมพู่, มังคุด, ไผ่, ทุเรียน, ลองกอง, ปาล์ม ฯลฯ
3.3 ไม้ที่ปกคลุมผิวดิน ทั้งที่เป็นอาหาร, สมุนไพรและของใช้ เช่น กาแฟ ผักป่าชนิดต่าง ๆ ชะพูล, มะนาว, หวาย, สบู่ดำ ฯลฯ
3.4 พันธุ์พืชที่ใช้ประโยชน์จากส่วนที่อยู่ใต้ดิน (พืชหัว)เป็นพืชที่ปลูกเพื่อความพอเพียงในด้านการกิน ได้แก่ กลอย, ขิง ข่า, กระชาย, กระทือ ฯลฯ
ซึ่ง กระบวนการปลูกในรูปแบบดังกล่าวจะได้พันธุ์ไม้ที่เกิดป่า 3 อย่าง คือ ป่าเพื่อพออยู่ ป่าเพื่อพอกินและป่าเพื่อพอใช้ และจะได้ประโยชน์เพิ่มในด้านการรักษาสมดุลด้านสิ่งแวดล้อม
เรือนยอดชั้นบน
เรือนยอดชั้นกลาง
เรือนยอดชั้นล่าง
ใต้ดิน
ภาพการจัดโครงสร้างและลำดับชั้นเรือนยอดในป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงสภาพป่า
4. กระบวนการสร้างมูลค่าต้นไม้ ในโครงการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เป็นการให้คุณค่าไม้ ให้เป็นมูลค่าเพื่อเกิดการพออยู่ตามนัยที่ ให้พอรักษาที่ดินทำกินให้อยู่กับเจ้าของผู้ทำกิน ให้เป็นมูลค่าเพื่อการศึกษาเรียนรู้ ในการลดค่าใช้จ่ายจากพืชที่ปลูกไว้บริโภคเอง
5. พื้นที่ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
5.1 ในพื้นที่ทำกินของประชาชนในชุมชนที่อยู่ในหรือรอบแนวเขตป่า
5.2 ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามความเหมาะสม
5.3 ในพื้นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชน

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต


จริยธรรม หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถสรุปได้ 4 ประเด็น ได้แก่
          1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึงสิทธิที่จะอยู่ตามลำพังและเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
- การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
- การใช้เทคโนโลยีในกาติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน
- การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
- การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าใหม่ขึ้นมาแล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งคือความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
          ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศมักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงเครื่องเดียว ในขณะที่บางโปรแกรมอนุญาตให้ใช้ได้หลายเครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมให้กับบุคคลอื่น เป็นการกระทำที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าท่านมีสิทธิในโปรแกรมนั้นในระดับใด
    4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
คือการป้องกันการเข้าไปดำเนินการกับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบเช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกัน หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โลกไร้พรมแดน

โลกไร้พรมแดนคือโลกแห่งการติดต่อสื่อสาร เพื่อพบปะเพื่อนฝูง เครือญาติ เพื่อน หรือไร้ตัวตนของคนที่เราติดต่อสื่อสาร เป็นนิยามของคำว่าติดต่อกันเพื่อ มิตรภาพที่ไร้พรมแดนทั่วโลก ไม่เลือกเชื้อชาติ ชนชั้น ศาสนา เพศ อายุ และ การศึกษา อยู่ที่ไหนก็ติดต่อกันได้ หากเรารู้จักกัน จากเพื่อนของเพื่อน รวดเร็ว ฉับไว ทันต่อข่าวสารทั้งในประเทศและนอกประเทศ http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=59dfab1c3a104b44 แสดงความคิดของฉัน โลกไร้พรมแดนคือ โลกที่ทุกคนสามารถอยู่ด้วยกันได้โดยไม่แบ่งเชื่อชาติ ศาสนา ประเทศ และติดต่อสื่อสารกันได้ทุกมุมโลก มีมิตรภาพต่อกันได้ จบข่าว......

แนะนำ MV